

การแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC THAILAND 2019
(iKids International Youth Robot Competition)
ณ วังรี รีสอร์ท จ.นครนายก
วัน-เวลา จัดค่าย : วันที่ 28 พฤษภาคม 2562
ค่าสมัคร สำหรับผู้เข้าแข่งขัน : 2,500 บาท
ค่าสมัคร สำหรับผู้ติดตาม : 2,000 บาท
*** ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันไม่มีผู้ติดตามมาด้วยให้ชำระเฉพาะค่าสมัครสำหรับผู้เข้าแข่งขัน : 2,500 บาท
*** ติดต่อสอบถามได้ที่ :: 090-947-2771 เมธา นราศรี
IYRC ย่อมาจาก International Youth Robot Competition ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับเยาวชนที่เกิดจากการร่วมมือกันของประเทศสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกด้วยกัน 16 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้, จีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, รัสเซีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, สเปน, อิสราเอล, แอฟริกาใต้, อาเซอร์ไบจาน, คูเวต รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน ได้รับความสนใจจากเหล่าประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นตามลำดับ หัวใจสำคัญของการแข่งขันในทุกครั้งก็คือ การเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วโลกได้มีเวทีการแข่งขันสร้างสรรค์นวัตกรรมหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของชาติสมาชิก
กำหนดการ
การแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC THAILAND 2019
(iKids International Youth Robot Competition)
ณ วังรี รีสอร์ท จ.นครนายก
วันที่ 28 พฤษภาคม 2562
เวลา
|
กิจกรรม
|
09.00–10.00 น.
|
- ทดสอบสนามช่วงเช้า สำหรับการแข่งขัน IYRC 2019 แต่ละประเภท
- ลงทะเบียน จัดเก็บหุ่นยนต์ (Quarantine) เพื่อการแข่งขัน
- ประชุมทีมหุ่นยนต์ที่เข้าแข่งขัน และครูที่ปรึกษา แบ่งสายการแข่งขัน
|
10.00–10.30 น.
|
พิธีเปิดการแข่งขัน IYRC THAILAND 2019
|
10.30–10.45 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง
|
10.45–12.00 น.
|
กิจกรรมการแข่งขัน IYRC THAILAND 2019
|
12.00–13.00 น.
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
|
13.00–14.30 น.
|
กิจกรรมการแข่งขัน IYRC THAILAND 2019 (ต่อ)
|
14.30–14.45 น.
|
พักรับประทานอาหารว่าง
|
14.45–17.00 น
|
กิจกรรมการแข่งขัน IYRC THAILAND 2019 (ต่อ)
|
17.00–18.00 น.
|
พักผ่อนตามอัธยาศัย
|
18.00–19.00 น
|
รับประทานอาหารเย็น
|
* หมายเหตุ
- ประกาศผลการแข่งขันและมอบรางวัลทันที หลังทราบผลการแข่งขัน
- กำหนดการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
- ผู้แข่งขันควรอยู่ในบริเวณที่กำหนดไว้ เพื่อฟังการเรียกชื่อจากกรรมการสนาม
กติกาทั่วไปการแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC THAILAND 2019
A. นิยามของประเภทการแข่งขัน
การแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC THAILAND 2019 มีการแข่งขัน 8 ประเภท ดังนี้
1. หุ่นยนต์แยกขยะ (Item Recycle)
2. หุ่นยนต์เตะฟุตบอล (R-Sports Mission - Soccer)
3. หุ่นยนต์ซูโม่ รุ่นจูเนียร์ (Push-Push Junior)
4. หุ่นยนต์ซูโม่ รุ่นซีเนียร์ (Push-Push Senior)
5. หุ่นยนต์กู้ภัยไฟป่า (Save the Forest)
6. หุ่นยนต์วอลเลย์บอล รุ่นซีเนียร์ (R–Sports Mission – Volleyball Senior)
7. ความคิดสร้างสรรค์ รุ่นจูเนียร์ (Creative Design Junior)
8. ความคิดสร้างสรรค์ รุ่นซีเนียร์ (Creative Design Senior)
*** หมายเหตุ - ผู้เข้าแข่งขัน 1 คน สามารถเข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ประเภท
B. นิยามของอายุผู้เข้าแข่งขัน
1. ประเภทการแข่งขันอายุ 7-12 ปี : ผู้เข้าแข่งขันต้องมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 7 ปี และมีอายุน้อยกว่า 13 ปี ในปีที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน คือ เกิดในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2550 - 31 ธันวาคม 2555
2. ประเภทการแข่งขันอายุ 13-17 ปี : ผู้เข้าแข่งขันต้องมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 13 ปี และมีอายุน้อยกว่า 18 ปี ในปีที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน คือ เกิดในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2545 - 31 ธันวาคม 2549
หมายเหตุ
- ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุเกินกว่าที่กำหนด เข้าทำการแข่งขันไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น
- ผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุน้อยกว่าที่กำหนด ต้องได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการจากผู้จัดการแข่งขัน อย่างไรก็ดีในทีมของผู้เข้าแข่งขันต้องมีผู้เข้าแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์ของระดับอายุนั้นๆ
- ผู้เข้าแข่งขันไม่จำเป็นต้องสังกัดอยู่ในโรงเรียนปกติ ตราบใดที่ผู้เข้าแข่งขันผู้นั้นมีอายุอยู่ในเกณฑ์ของระดับอายุนั้นๆ
C. อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
1. ชิ้นส่วนพลาสติก กล่องควบคุม มอเตอร์ เซนเซอร์ รีโมตคอนโทรลที่ใช้ในการประกอบเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน ต้องมาจากชุด MY ROBOT TIME, ชุดทดลอง iKids Level 1-6 หรือชุดหุ่นยนต์ T.O.P.
2. ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน มีหน้าที่เตรียมและนำอุปกรณ์ในการแข่งขันมาด้วยตนเอง
3. ทีมผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ต้องเตรียมอุปกรณ์สำรองมาในวันแข่งขัน ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดใดๆ ที่ทำให้อุปกรณ์ในการแข่งขันของทีมผู้เข้าแข่งขันเสียหาย ทางผู้จัดการแข่งขันไม่มีหน้าที่ในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ใดๆ ให้กับทีมผู้เข้าแข่งขัน
4. ไม่อนุญาตให้ผู้ควบคุมทีมเข้าไปในพื้นที่การแข่งขัน เพื่อให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือใดๆ ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน
5. ผู้เข้าแข่งขันสามารถเขียนโปรแกรมก่อนการแข่งขันได้
6. ไม่อนุญาตให้ใช้ กาว หรือเทปเหนียวในการยึดติดชิ้นส่วนใดๆ เข้าด้วยกัน การละเมิดกฎข้อนี้ จะทำให้ทีมผู้เข้าแข่งขันถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
7. ไม่อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ใดๆ ที่มีการดัดแปลงจากสถานะปกติ ทีมผู้เข้าแข่งขันที่ใช้อุปกรณ์ที่มีการดัดแปลงจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
D. ข้อห้ามในการแข่งขัน
1. ทำอันตราย หรือทำความเสียหายให้กับสนามแข่งขัน อุปกรณ์การแข่งขัน หรือ หุ่นยนต์ของทีมผู้เข้าแข่งขันอื่น
2. ใช้อุปกรณ์ที่อันตราย หรืออุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดการรบกวนการแข่งขันได้
3. ใช้วาจาหรือกิริยาที่ไม่เหมาะสมกับผู้เข้าแข่งขันในทีมเดียวกัน ผู้เข้าแข่งขันทีมอื่น ผู้ชม คณะกรรมการ หรือทีมงานจัดงาน
4. นำอุปกรณ์สื่อสารทั้งแบบมีสาย และไร้สายเข้าไปในพื้นที่การแข่งขัน
5. นำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าไปในพื้นที่การแข่งขัน ยกเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดการแข่งขัน
6. สื่อสารกับผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้แข่งขันทีมเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการแข่งขัน ทีมที่ทำผิดกติกาข้อนี้ จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
7. การกระทำอื่นใด ที่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันพิจารณาเห็นสมควรว่าเป็นการขัดขวางการแข่งขัน
E. การให้คะแนน
1. ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องลงนามยืนยันผลการแข่งขันหลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น ผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่สามารถคัดค้านผลการแข่งขันได้หลังจากลงนามยอมรับผลแล้ว
2. ในกรณีที่มีการจับโดยเครื่องบันทึกเวลา เวลาจะเริ่มเดินหลังจากหุ่นยนต์ผ่านจุด START และหยุดเดิน เมื่อหุ่นยนต์ถึงจุด END
2.1 ถ้าเครื่องมือจับเวลาไม่สามารถตรวจจับหุ่นยนต์ได้ ให้เริ่มต้นจับเวลาใหม่ได้มากที่สุดสามครั้ง หากเครื่องจับเวลายังไม่สามารถตรวจจับหุ่นยนต์ได้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำหุ่นยนต์ไปแก้ไขโครงสร้างหุ่นยนต์ เพื่อให้เครื่องมือวัดเวลาสามารถตรวจจับหุ่นยนต์ได้
2.2 ในกรณีที่เกิดไฟดับหรือเครื่องจับเวลาขัดข้อง จะใช้การจับเวลาโดยนาฬิกาของกรรมการ
F. การแข่งขัน
1. ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันหุ่นยนต์ทั้งหมดจะได้รับการตรวจสอบ ถ้าหุ่นยนต์ไม่ผ่านการตรวจสอบ ผู้แข่งขันมีเวลา 15 นาทีในการแก้ไขปรับเปลี่ยนหุ่นยนต์ มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน
2. ถ้าหุ่นยนต์พบปัญหาทางเทคนิคใดๆ ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 5 นาที ในการซ่อมแซมหุ่นยนต์
3. กรรมการสามารถกำหนดสนาม เวลาการทดสอบหุ่นยนต์ ให้ผู้เข้าแข่งขันในแต่ละทีม เพื่อให้แน่ใจว่าทุกทีมได้รับความเท่าเทียมกันในการใช้เวลาทดลองหุ่นยนต์
4. รีโมต คอนโทรล
4.1 อนุญาตให้ใช้รีโมตคอนโทรลของชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ หรือ MRT เท่านั้น
4.2 ในกรณีเกิดความสับสนในช่องการสื่อสาร ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองทีมจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน หากทั้งสองทีมไม่สามารถตกลงเรื่องช่องการสื่อสารได้
4.3 หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้หลังจากกรรมการให้สัญญาณเริ่มต้นการแข่งขัน
5. จะต้องไม่มีชิ้นส่วนใดๆ ของหุ่นยนต์หลุดออกมาในขณะทำการแข่งขัน กรรมการอาจพิจารณาจัดการกับทีมที่ทำชิ้นส่วนหลุดได้ตามความเหมาะสม
6. ผู้เข้าแข่งขันไม่ได้รับอนุญาตให้สัมผัสหุ่นยนต์ หรือรีโมตคอนโทรลในระหว่างการแข่งขัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรรมการ
รางวัลสำหรับการแข่งขันทุกรายการ
รางวัลชนะเลิศ
-
โล่รางวัลชนะเลิศ IYRC THAILAND 2019
-
เกียรติบัตร IYRC THAILAND 2019
-
สิทธิในการเข้าร่วม การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ International Youth Robot Competition (IYRC 2019) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์การประชุมแทจอน (Daejeon Convention Center -- DCC) เมืองแทจอน ประเทศเกาหลีใต้
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 และ 2
-
เหรียญรางวัล IYRC THAILAND 2019
-
เกียรติบัตร IYRC THAILAND 2019
-
สิทธิในการเข้าร่วม การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ International Youth Robot Competition (IYRC 2019) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-4 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์การประชุมแทจอน (Daejeon Convention Center -- DCC) เมืองแทจอน ประเทศเกาหลีใต้
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกท่านที่ลงทะเบียน จะได้รับ
-
เกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน IYRC THAILAND 2019
-
เสื้อยืดการแข่งขัน IYRC THAILAND 2019
-
ของที่ระลึกการแข่งขัน IYRC THAILAND 2019
IYRC THAILAND 2019
JUNIOR
(Age:7–12)
Categories
1. หุ่นยนต์แยกขยะ (Item Recycle)
1.0 วัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบทักษะของนักเรียนในการออกแบบสร้างและควบคุมหุ่นยนต์ ให้ทำการผลักดันแยกขยะรีไซเคิลไปยังปลายทางให้ตรงตามประเภทของขยะ โดยใช้เวลาน้อยที่สุด
2.0 ขนาดหุ่นยนต์และน้ำหนัก
ขนาดของหุ่นยนต์ในกล่องเมื่อเริ่มต้นต้องไม่เกิน 25 ซม. (กว้าง) x 25 ซม. (ยาว) x 25 ซม. (สูง)
หุ่นยนต์ไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายขนาดแต่อย่างใด
3.0 ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์
3.1 ใช้ชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ตั้งแต่ระดับ 4-6, อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะชิ้นส่วนในชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ระดับ 4-6, ชุดหุ่นยนต์ MRT และชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาของ HUNA (ไม่รวมชุด My Robot Time Toy และหุ่นยนต์เตะฟุตบอลสำเร็จรูปของ MRT) มาสร้างหุ่นยนต์ โดยไม่จำกัดจำนวนบล็อกที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ และสามารถใช้ชิ้นส่วนจากชุดหุ่นยนต์ที่ต่างชุดกัน จากรายการข้างต้น มาสร้างหุ่นยนต์ได้
3.2 อนุญาตให้ใช้ดีซีมอเตอร์ได้สูงสุด 4 ตัว และกล่องควบคุม (mainboard) 1 กล่อง
3.3 หุ่นยนต์จะต้องไม่สร้างความเสียหายต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของสนาม หรืออุปสรรคกีดขวางโดยเจตนา
3.4 ไม่อนุญาตให้ใช้แบตเตอรี่แรงดันไฟเกิน 9 โวลต์ ดีซี ไม่อนุญาตให้ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
3.5 หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำอันตรายใด ๆ ต่อสนามแข่งขันและบริเวณโดยรอบ
3.6 เซนเซอร์ของหุ่นยนต์จะต้องได้รับการป้องกันการรบกวนจากภายนอก
3.7 ตัวรับรีโมตคอนโทรล (RC) จะต้องได้รับการป้องกันการรบกวนจากภายนอก
4.0 กติกาการแข่งขัน
4.1 ระยะเวลาการแข่งขัน
4.1.1 การแข่งขันแต่ละเกมจะใช้เวลา 3 นาที
4.1.2 การแข่งขันจะสิ้นสุดก่อน 3 นาที ในกรณีต่อไปนี้
- เมื่อชิ้นส่วนรีไซเคิลได้ทั้งหมดถูกวางไว้ที่ปลายทางเรียบร้อยหมดแล้ว
- ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน
- เมื่อกรรมการตัดสินว่าไม่สามารถทำการแข่งขันต่อไปได้
5.0 การสร้างหุ่นยนต์
สร้างสำเร็จมาล่วงหน้า (Pre-built)
6.0 การเริ่มแข่งขัน
6.1 เมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีดเริ่มการแข่งขันWhistle
6.2 ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอนุญาตให้เริ่มต้น (เปิดเครื่อง) หุ่นยนต์ โดยการกดปุ่มเปิดครั้งเดียว
6.3 ผู้เข้าแข่งขันที่ใช้รีโมตคอนโทรลควบคุมหุ่นยนต์ จะต้องรักษาระยะห่างจากสนามแข่งขัน โดยไม่ต้องไปสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของสนาม หรือรบกวนการแข่งขัน
7.0 ภารกิจการแข่งขัน
7.1 หลังจากการแข่งขันเริ่มต้น , หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่จากจุดฐาน (BASE) เพื่อดันขยะรีไซเคิลไปยังปลายทาง
7.2 มีขยะรีไซเคิลอยู่ 3 ประเภทที่แตกต่างกัน และมีถังเก็บขยะรีไซเคิลอยู่ 3 ถังที่แตกต่างกัน:
ขยะพลาสติก : ทำจากชุดล้อใหญ่ 2 ชิ้น เพลาขนาดกลาง (M)
ขยะอะลูมิเนียม : ทำจากเฟืองอะลูมิเนียม 2 ชิ้น, เฟรมอะลูมิเนียม 15 จำนวน 3 ชิ้น, บล็อกเสา 45 จำนวน 3 ชิ้น, บล็อก 45 จำนวน 6 ชิ้น, สลักเกลียว 8 มม. จำนวน 8 ตัว, สลักเกลียว 16 มม. จำนวน 6 ตัว และนอต จำนวน 12 ตัว)
ขยะกระดาษ : ทำจากถ้วยกระดาษ
7.3 มี 5 จุดบนสนาม แต่ละจุดมีขยะรีไซเคิลอยู่ 3 ชิ้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแยกและดันขยะรีไซเคิลแต่ละชิ้นส่งไปยังปลายทางของขยะแต่ละประเภทให้ถูกต้อง
7.4 เวลาจะเริ่มเดินเมื่อเป่านกหวีด
7.5 หุ่นยนต์ทั้งหมดที่ผ่านการลงทะเบียนตรวจสอบแล้ว จะถูกนำมารวบรวมในบริเวณที่จัดไว้ก่อนการแข่งขัน จะไม่สามารถแชร์หุ่นยนต์เวียนแข่งขันกับผู้เข้าแข่งขันร่วมคนอื่นๆ ได้
7.6 ชิ้นส่วนที่หักหรือหลุดจากหุ่นยนต์ จะไม่อนุญาตให้ทำการยึดกลับเข้าไปในหุ่นยนต์ในระหว่างการแข่งขัน
7.7 การจับเวลาจะหยุดลง เมื่อหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนย้ายขยะรีไซเคิลทั้งหมดได้เสร็จสิ้น และหุ่นยนต์กลับไปหยุดที่ฐาน (BASE) เริ่มต้น
8.0 การตัดสินผู้ชนะ
ผู้ชนะคือผู้เข้าแข่งขันที่สามารถทำคะแนนได้สูงสุดและสามารถกลับไปที่ฐานได้ทันเวลา หากผู้เข้าแข่งขันทำคะแนนได้เท่ากัน ผู้ที่ใช้เวลาในการทำภารกิจน้อยกว่าจะเป็นผู้ชนะ
8.1 คะแนน, การตัดคะแนน และการถูกตัดสิทธิ์
8.1.1 คะแนน
คะแนนจะถูกบันทึกหลังจากสิ้นสุดเกม ขยะรีไซเคิลที่วางไว้ในตำแหน่งที่ถูกต้องจะได้ 5 คะแนน ชิ้นขยะที่วางอยู่บนเส้นสีดำ (ไม่เข้าไปในอยู่เต็มในถังรีไซเคิล) ขยะชิ้นนั้นจะไม่ได้นับคะแนนให้
8.1.2 การตัดคะแนน
• หากชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลวางในถังผิดประเภท จะถูกตัด 5 คะแนน สำหรับขยะแต่ละชิ้น
• หากชิ้นส่วนขยะรีไซเคิลไม่ได้ถูกวางในกรอบบริเวณถังรีไซเคิลอย่างสมบูรณ์ จะไม่มีการพิจารณาให้คะแนน
8.1.3 การถูกตัดสิทธิ์
• ผู้เข้าแข่งขันสัมผัสหุ่นยนต์ในระหว่างการแข่งขัน
• หุ่นยนต์ติดมุมหรือหยุดนิ่งนานเกินกว่า 10 วินาที
• หุ่นยนต์ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดด้านขนาด
9.0 สนามแข่งขัน

• สนามจะถูกล้อมรอบด้วยกำแพงสูง 8 ซม.
• ขยะรีไซเคิล 3 ชนิดที่วางในแต่ละจุดประกอบด้วยขยะกระดาษ, ขยะพลาสติก และขยะอะลูมิเนียม
2. หุ่นยนต์เตะฟุตบอล (R-Sports Mission - Soccer)
พื้นที่การแข่งขันหรืออุปกรณ์รอบข้างใดๆ
3.7 ตัวรับรีโมตคอนโทรลของหุ่นยนต์ จะต้องได้รับการป้องกันการรบกวนจากภายนอก
3.8 หุ่นยนต์จะต้องไม่มีโครงสร้าง ในการจับล็อกบอลได้ กรรมการจะตรวจเช็คโครงสร้างของหุ่นยนต์ก่อนการแข่งขัน
4.0 กติกาการแข่งขัน
4.1 ระยะเวลาการแข่งขัน
4.1.1 กำหนดเวลาแข่งขันเกมละ 3 นาที
การแข่งขันครึ่งแรกเวลา 1:30 นาที ให้ผู้เข้าแข่งขันสลับฝั่งการแข่งขันตามคำสั่งกรรมการ
4.2 การสร้างหุ่นยนต์
4.2.1 หุ่นยนต์สร้างสำเร็จ และเขียนโปรแกรมมาล่วงหน้า
4.3 การเริ่มหุ่นยนต์
4.3.1 กรรมการจะเป่านกหวีดเป็นสัญญาณเริ่มต้นการแข่งขัน
4.3.2 ผู้เข้าแข่งขันที่ทำหน้าที่ควบคุมหุ่นยนต์จะต้องรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับสนาม ไม่ไปสัมผัสโดนสนาม หรืออุปกรณ์ใดๆ ในสนาม
4.4 ภารกิจการแข่งขัน
4.4.1 การแข่งขันจะดำเนินการในแบบแพ้คัดออก (Knock Out) การจับคู่การแข่งขันของทีมทั้งหมดจะใช้วิธีสุ่มโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
4.4.2 แต่ละทีมจะประกอบด้วยหุ่นยนต์ 3 ตัว และผู้เข้าแข่งขัน 3 คน ควบคุมหุ่นยนต์ของตนเองคนละตัว การจัดแผนการเล่น สามารถเลือกได้สองรูปแบบ คือ กองหลัง 1 + กองหน้า 2 หรือ กองหลัง 2 + กองหน้า 1
กองหลัง (Defender)
– ไม่สามารถออกจากพื้นที่ครึ่งสนามฝั่งตนเอง ไปยังครึ่งสนามฝ่ายตรงข้ามได้
– อนุญาตให้เข้าไปในเขตโทษของตนเองเพื่อป้องกันประตูได้ ในเวลาไม่เกิน 10 วินาที โดยต้องไม่หยุดการเคลื่อนที่
กองหน้า (Striker)
– อนุญาตให้อยู่ในครึ่งของตัวเองและเข้าไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามได้
– อนุญาตให้เข้าไปในเขตโทษของฝ่ายตรงข้ามเพื่อทำประตูได้ แต่ห้ามอยู่ค้างเกิน 10 วินาที
– ไม่อนุญาตให้เข้าไปอยู่ในเขตโทษของตนเอง
4.4.3 ผู้เข้าแข่งขันที่ทำหน้าที่ควบคุมหุ่นยนต์จะต้องรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับสนาม ไม่ไปสัมผัสโดนสนาม หรือทำความเสียหายกับอุปกรณ์ใดๆ ในสนาม
4.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแจ้งแผนการเล่นต่อกรรมการก่อนการแข่งขัน และไม่สามารถเปลี่ยนแผนการเล่นในขณะทำการแข่งขันได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงเมื่อแข่งขันกับคู่ใหม่
4.4.5 ไม่อนุญาตให้หุ่นยนต์บล็อกลูกบอลกับด้านข้างสนาม และหยุดนิ่งอยู่ หากพบว่ากระทำซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง หุ่นยนต์จะถูกลงโทษโดยการยกออกนอกสนามเป็นเวลา 1 นาที
4.4.6 เมื่อมีหุ่นยนต์ถูกยกออกจากสนามแข่งขัน หุ่นยนต์จะสามารถเข้าสนามได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเท่านั้น
4.4.7 หุ่นยนต์สามารถปรับใช้เทคนิคหรือกลยุทธ์การแข่งขันใดๆ ก็ได้ ตราบที่ยังไม่ทำผิดกติกา (ฟาล์ว)
4.4.8 ผู้กระทำความผิดจะได้รับใบเหลือง เมื่อได้รับบัตรสีเหลือง 2 ใบ ผู้เล่นจะถูกยกหุ่นออกนอกสนามเป็นเวลา 1 นาที ก่อนที่นำหุ่นเข้ามาเล่นในสนามต่อได้
4.4.9 การต่อเวลาพิเศษ 1 นาที จะต่อเวลาในกรณีที่ทำประตูได้เสมอกันเท่านั้น
4.4.10 ลูกโทษจะถูกวางลงบนจุดวางลูกโทษในสนาม (จุดสีขาว) หุ่นยนต์ที่ทำการยิงลูกโทษจะต้อง หยุดอยู่หลังจุดสีขาว และไม่สามารถวิ่งดันลูกบอลออกเกินเส้นสีขาวได้.
4.4.11 ก่อนการแข่งขันหุ่นยนต์ทั้งหมดจะถูกรวมไว้ที่กรรมการ ผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถใช้หุ่นร่วมกับผู้เข้าแข่งขันรายอื่นได้
4.4.12 ชิ้นส่วนที่หลุดร่วงหรือหักจากหุ่นยนต์ จะไม่สามารถติดตั้งใส่กลับคืนสู่หุ่นยนต์ได้ในระหว่างการแข่งขัน
4.4.13 ในระหว่างการแข่งขันดำเนินไป หากกรรมการเป่านกหวีดให้หยุด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องควบคุมให้หุ่นยนต์ตนเองหยุดทำงานทันที
4.4.14 ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าหุ่นยนต์ทั้งกองหน้าและกองหลังเข้าไปยังแดนของฝ่ายตรงข้าม หากมีการทำประตูได้ จะถือว่าไม่ได้ประตู
4.4.15 ขณะทำการแข่งขัน หุ่นยนต์ไม่สามารถจับครองลูกบอลติดตัวได้นานกว่า 5 วินาที จะถือว่าเป็นลูกตาย (Dead Ball) กรรมการจะเป่านกหวีดให้หุ่นทุกตัวหยุดการเคลื่อนที่ กรรมการจะวางบอลในบริเวณที่หยุดนั้น และเป่านกหวีดให้การแข่งขันดำเนินต่อไป หากเกิดลูกตายซ้ำในที่เดิมอีกเกินกว่า 3 ครั้ง กรรมการจะนำลูกบอลไปไว้กลางสนาม และเป่านกหวีดให้การแข่งขันดำเนินต่อไป
4.5 การตัดสินผู้ชนะ
4.5.1 ภายในเวลา 3 นาที ทีมที่ทำประตูได้สูงสุดจะเป็นทีมที่ชนะ
4.5.2 ผู้ชนะจะได้เข้ารอบ "Knock–Out" ถัดไป โดยไปเริ่มทำคะแนนใหม่ในรอบต่อไป
4.5.3 ระยะเวลาของการต่อเวลาพิเศษคือ 1 นาที
4.5.4 ในกรณีที่ทำประตูได้เท่ากันหลังจากต่อเวลาแล้ว จะตัดสินการแข่งขันด้วยการยิงลูกโทษ
ทีมละ 3 ลูก
4.5.5 หากยังทำประตูได้เสมอกันอีก จะตัดสินด้วยการยิงลูกโทษแบบ ‘Sudden Death’ หากทีมใดทำประตูเสียก่อน ในขณะที่ทีมคู่แข่งทำประตูได้ ทีมที่ทำประตูเสียก่อนจะถือว่าแพ้การแข่งขัน
4.6 การตัดสิทธิ์การแข่งขัน
ทีมที่เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน หากมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ในระหว่างการแข่งขัน:
4.6.1 สัมผัสหุ่นยนต์ขณะที่กำลังแข่งขันอยู่
4.6.2 หุ่นยนต์ไม่สอดคล้องกับข้อจำกัดด้านขนาด
4.7 การวางหุ่นยนต์ก่อนการแข่งขัน
4.7.1 วางหุ่นยนต์แต่ละทีมให้อยู่ด้านหน้าเส้นสีขาว ดังรูป
.png)
5.0 สนามแข่งขัน
.png)
3. หุ่นยนต์ซูโม่ รุ่นจูเนียร์ (Push-Push Junior)
วัตถุประสงค์
-
ทดสอบและท้าทายความสามารถของผู้เข้าแข่งขันในการสร้างและตั้งโปรแกรมหุ่นยนต์ที่มีเสถียรภาพ และสามารถใช้ทักษะการควบคุมวิ่งผ่านทางเดิน และดันฝ่ายตรงข้ามให้ออกจากลานวงสีดำ
ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์
-
หุ่นยนต์เมื่อเริ่มต้นต้องมีขนาดไม่เกิน 20 ซม. (กว้าง) x 20 ซม. (ยาว) x 20 ซม. (สูง)
อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์จะต้องไม่ยืดขยายขนาดใดๆ หลังจากการเริ่มแข่งขัน
-
น้ำหนักสูงสุดของหุ่นยนต์ไม่เกิน 800 กรัม (รวมแบตเตอรี่)
ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์
-
อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะชิ้นส่วนในชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ระดับ 4-6, ชุดหุ่นยนต์ MRT และชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาของ HUNA (ไม่รวมชุด My Robot Time Toy และหุ่นยนต์เตะฟุตบอลสำเร็จรูปของ MRT) มาสร้างหุ่นยนต์ ไม่จำกัดจำนวนบล็อกที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ และสามารถใช้ชิ้นส่วนจากชุดหุ่นยนต์ที่ต่างชุดกันจากรายการข้างต้นมาสร้างหุ่นยนต์ได้
-
จำกัดให้ใช้มอเตอร์ได้ไม่เกิน 2 ตัว, เซอร์โวมอเตอร์ 2 ตัว และกล่องควบคุม (mainboard) 1 กล่อง
-
ไม่อนุญาตให้ดัดแปลงส่วนที่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หากตรวจเจอจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขันทันที
-
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนามหรืออุปกรณ์ในสนาม
-
ไม่อนุญาตให้ใช้แบตเตอรี่แรงดันไฟเกิน 9 โวลต์ ดีซี ไม่อนุญาตให้ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
-
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อพื้นที่การแข่งขันหรืออุปกรณ์รอบข้างใดๆ
-
หุ่นยนต์จะต้องมีการป้องกันเซนเซอร์ตนเองจากการรบกวนภายนอก
-
ตัวรับรีโมตคอนโทรลของหุ่นยนต์จะต้องมีการป้องกัน จากการรบกวนภายนอก
กติกาการแข่งขัน
-
เป่านกหวีดแรก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องควบคุมหุ่นยนต์ให้เดินไปบนทางวิ่ง (Run way) และหยุดรอในวงกลมสีดำ เป่านกหวีดที่สอง เป็นสัญญาณให้หุ่นยนต์ทำการต่อสู้ดันฝ่ายตรงข้าม
-
หากหุ่นยนต์ตกจากทางวิ่ง (Run way) ก่อนถึงวงกลมสีดำ จะถือว่าแพ้ในยกนั้น
-
หากภายใน 1 นาที หุ่นยนต์ยังไม่สามารถเดินเข้ามารอยังพื้นที่วงกลมสีดำได้ จะถือว่าแพ้ในยกนั้น
-
ภายใน 1 นาที หากสามารถดันหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามออกจากสนามแข่งขัน (วงกลมสีดำ) ได้ก่อน ถือว่าเป็นฝ่ายชัยชนะ หากหุ่นยนต์ทั้งคู่หลุดออกจากสนามแข่งขันพร้อมกัน จะถือว่าเสมอกัน
-
ในกรณีที่หุ่นยนต์ถูกดันให้ออกนอกสนามแข่งขัน (วงกลมสีดำ) เกินกว่าครึ่งตัว และไม่สามารถกลับเข้ามาในสนามได้ ถือว่าแพ้
-
การแข่งขันแต่ละคู่จะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที โดยแบ่งออกเป็น 3 ยก ยกละ 1 นาที โดยมีเกณฑ์การตัดสินดังนี้a ) เสมอ (Draw) ในกรณีที่หุ่นยนต์ทั้งสองยังคงเคลื่อนไหวในสนามแข่งขัน ได้ฝ่ายละ 1 คะแนนเท่ากัน
-
หุ่นยนต์จะต้องอยู่หลังเส้นเริ่มต้น (start) บนสนาม ก่อนเริ่มการแข่งขัน หุ่นยนต์ทั้งสองฝ่ายจะต้องหยุดนิ่งในจุดเริ่มต้นที่กำหนด จนกว่ากรรมการจะให้สัญญาณนกหวีดเริ่มการแข่งขัน
-
ในขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ หากผู้ตัดสินเป่านกหวีดหยุดการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสั่งงานให้หุ่นยนต์หยุดเดินทันที
-
ฟาล์ว (Fouls) ในกรณีต่อไปนี้
-
ผู้เข้าแข่งขันสัมผัสหุ่นยนต์ขณะที่กำลังทำการแข่งขันอยู่
-
หุ่นยนต์หยุดนิ่งนานมากกว่า 5 วินาที
-
ฟาล์วมากกว่า 2 ครั้งในหนึ่งยก, ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ชนะ
สนามแข่งขัน
.png)
.png)
4. ความคิดสร้างสรรค์ รุ่นจูเนียร์ (Creative Design Junior)
1. วัตถุประสงค์
เป็นเวทีสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่จะได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์และทักษะการเขียนโปรแกรม โดยผู้เข้าแข่งขันที่จะต้องร่วมกันทำงานเป็นทีม เพื่อการออกแบบหุ่นยนต์ในหัวข้อที่กำหนด นอกจากนี้ ยังจะต้องนำเสนอและแสดงให้เห็นถึงผลงานการสร้างหุ่นยนต์ เพื่อโน้มน้าว และสร้างความประทับใจให้แก่คณะกรรมการตัดสินอีกด้วย
2. ขนาดและน้ำหนักหุ่นยนต์
ไม่จำกัด ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์
3. ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์
- อนุญาตให้ใช้ชิ้นส่วนในชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ และชุดหุ่นยนต์ MRT ทุกระดับมาสร้างหุ่นยนต์ได้ โดยไม่จำกัดจำนวนของตัวต่อที่ใช้ และสามารถใช้ชิ้นส่วนหุ่นยนต์ต่างชุดกันมาต่อรวมกันสร้างหุ่นยนต์ได้
- หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนาม โดยเจตนา
- หุ่นยนต์สามารถที่จะทำงานในแบบอัตโนมัติ หรือใช้รีโมตคอนโทรลควบคุม
- หุ่นยนต์สามารถใช้อุปกรณ์ หรือวัสดุอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาได้ เช่น กล้อง, เซนเซอร์ต่างๆ , กระดาษ, แหวน, คลิป, ตะเกียบ, ถ้วยกระดาษ และวัสดุที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3D เป็นต้น.
- ไม่อนุญาตให้ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
- หุ่นยนต์จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนาม และอุปกรณ์แวดล้อมใดๆ
- หุ่นยนต์จะต้องมีการป้องกันเซนเซอร์ของตนเอง (ถ้ามี) จากการรบกวนภายนอก
- ตัวรับรีโมตคอนโทรลของหุ่นยนต์ (ถ้ามี) จะต้องได้รับการป้องกันการรบกวนจากภายนอก
4. กติกาการแข่งขัน
- ระยะเวลาการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างหุ่นยนต์มาล่วงหน้า
- ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 2 ชั่วโมง ในการเตรียมหุ่นยนต์ของตนเอง
- แต่ละทีมมีเวลาในการนำเสนอ 3 นาที บนเวที ให้คณะกรรมการตัดสิน
- หัวข้อโจทย์ (Theme): เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ, UN’s Sustainable Development Goals -- SDGs)
* ดูรายละเอียด เป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ได้ตามลิงก์ต่อไปนี้ https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/
ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 17 หัวข้อย่อย ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกออกแบบสร้างหุ่นยนต์ให้อยู่ใน 5 หัวย่อย ต่อไปนี้ :
1. โลกไร้ซึ่งผู้หิวโหย (Zero Hunger) ยุติความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหาร การปรับปรุงด้านการโภชนาการและส่งสริมการเกษตรแบบยั่งยืน
2. สุขภาพและความเป็นอยู่อันพึงปรารถนา (Good Health and Well-Being) ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีพและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุ
3. น้ำสะอาดและการสุขาภิบาลที่ยอดเยี่ยม (Clean Water and Sanitation) ทำให้มั่นใจว่าจะมีให้มีการจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน
4. พลังงานที่ไม่มีวันหมดในราคาที่ซื้อได้ (Affordable and Clean Energy) ทำให้มั่นใจว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงพลังงานที่มีราคาที่ซื้อได้ มั่นใจได้ ยั่งยืนและทันสมัย
5. บ้านเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน
3. เอกสารหรือคู่มือหุ่นยนต์ (Robot Manual)
- ผู้เข้าเข้าแข่งขันควรส่งคู่มือหุ่นยนต์ (ในขนาด A4) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น โปสเตอร์ภาพถ่าย ส่งให้ผู้จัดงานก่อนการนำเสนอ
- คู่มือเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
- ในคู่มือควรประกอบด้วย
- ชื่อหุ่นยนต์ (Robot Name)
- สมาชิกในทีมและการจัดสรรงาน (Team member and the task allocation)
- การแนะนำโครงงานเบื้องตัน (Introduction of the project)
- คุณลักษณะของหุ่นยนต์ (Characteristic of robot)
- การทำงานของหุ่นยนต์ (Functionality of robot)
4. เกณฑ์พิจารณาตัดสินผู้ชนะ มีเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนนดังนี้ :
- ความเกี่ยวข้องกับหัวข้อโจทย์ (Relevance to theme)
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
- ความมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น (Uniqueness)
- การทำงานของหุ่นยนต์ (Robot Functionality)
- เอกสารหรือคู่มือหุ่นยนต์ (Robot manual)
- การทำงานเป็นทีม (Team work)
- การนำเสนอ (Presentation skill)
IYRC THAILAND 2019
SENIOR
(Age:13–17)
Categories
1. หุ่นยนต์ซูโม่ รุ่นซีเนียร์ (Push-Push Senior)
วัตถุประสงค์
ทดสอบและท้าทายความสามารถของผู้เข้าแข่งขันในการสร้างและตั้งโปรแกรมหุ่นยนต์ที่มีเสถียรภาพ และสามารถใช้ทักษะการควบคุมวิ่งผ่านทางเดิน และดันฝ่ายตรงข้ามให้ออกจากลานวงสีดำ
ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์
-
หุ่นยนต์เมื่อเริ่มต้นต้องมีขนาดไม่เกิน 20 ซม. (กว้าง) x 20 ซม. (ยาว) x 20 ซม. (สูง)
ไม่อนุญาตให้หุ่นยนต์ยืดขยายขนาดใดๆ ขณะทำการเริ่มแข่งขัน
-
น้ำหนักสูงสุดของหุ่นยนต์ไม่เกิน 800 กรัม (รวมแบตเตอรี่)
ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์
-
อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะชิ้นส่วนในชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ระดับ 4-6, ชุดหุ่นยนต์ MRT และชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาของ HUNA (ไม่รวมชุด My Robot Time Toy และหุ่นยนต์เตะฟุตบอลสำเร็จรูปของ MRT) มาสร้างหุ่นยนต์ ไม่จำกัดจำนวนบล็อกที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ และสามารถใช้ชิ้นส่วนจากชุดหุ่นยนต์ที่ต่างชุดกันจากรายการข้างต้นมาสร้างหุ่นยนต์ได้
-
จำกัดให้ใช้มอเตอร์ได้ไม่เกิน 2 ตัว, เซอร์โวมอเตอร์ 2 ตัว และกล่องควบคุม (mainboard) 1 กล่อง
-
ไม่อนุญาตให้ดัดแปลงส่วนที่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หากตรวจเจอจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขันทันที
-
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนามหรืออุปกรณ์ในสนาม
-
ไม่อนุญาตให้ใช้แบตเตอรี่แรงดันไฟเกิน 9 โวลต์ ดีซี ไม่อนุญาตให้ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
-
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อพื้นที่การแข่งขันหรืออุปกรณ์รอบข้างใดๆ
-
หุ่นยนต์จะต้องมีการป้องกันเซนเซอร์ตนเองจากการรบกวนภายนอก
-
ตัวรับรีโมตคอนโทรลของหุ่นยนต์จะต้องมีการป้องกัน จากการรบกวนภายนอก
กติกาการแข่งขัน
-
เป่านกหวีดแรก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องควบคุมหุ่นยนต์ให้เดินไปบนทางวิ่ง (Run way) และหยุดรอในวงกลมสีดำ เป่านกหวีดที่สอง เป็นสัญญาณให้หุ่นยนต์ทำการต่อสู้ดันฝ่ายตรงข้าม
-
หากหุ่นยนต์ตกจากทางวิ่ง (Run way) ก่อนถึงวงกลมสีดำ จะถือว่าแพ้ในยกนั้น
-
หากภายใน 1 นาที หุ่นยนต์ยังไม่สามารถเดินเข้ามารอยังพื้นที่วงกลมสีดำได้ จะถือว่าแพ้ในยกนั้น
-
ภายใน 1 นาที หากสามารถดันหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามออกจากสนามแข่งขัน (วงกลมสีดำ) ได้ก่อน ถือว่าเป็นฝ่ายชัยชนะ หากหุ่นยนต์ทั้งคู่หลุดออกจากสนามแข่งขันพร้อมกัน จะถือว่าเสมอกัน
-
ในกรณีที่หุ่นยนต์ถูกดันให้ออกนอกสนามแข่งขัน (วงกลมสีดำ) เกินกว่าครึ่งตัว และไม่สามารถกลับเข้ามาในสนามได้ ถือว่าแพ้
-
การแข่งขันแต่ละคู่จะใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที โดยแบ่งออกเป็น 3 ยก ยกละ 1 นาที โดยมีเกณฑ์การตัดสินดังนี้
a ) เสมอ (Draw) ในกรณีที่หุ่นยนต์ทั้งสองยังคงเคลื่อนไหวในสนามแข่งขัน ได้ฝ่ายละ 1 คะแนนเท่ากัน
b ) ชนะ (Win) ในกรณีที่หุ่นยนต์สามารถดันฝ่ายตรงข้ามออกนอกสนามได้ หรือฝ่ายตรงข้ามออกนอกสนามเอง และไม่สามารถกลับเข้าสู่สนามได้ ผู้ชนะจะได้ 2 คะแนน
c ) แพ้ (Lose) ในกรณีที่หุ่นยนต์ถูกฝ่ายตรงข้ามดันออกนอกสนาม หรือหุ่นยนต์ออกนอกสนามเองและไม่สามารถกลับเข้าสู่สนามแข่งขันได้ ผู้แพ้จะได้ 0 คะแนน
d ) การตัดสินสุดท้าย (Final) หลังจากการแข่งขันผ่านไป 3 ยก หากผู้เข้าแข่งขันได้คะแนนเท่ากัน จะตัดสินผู้ชนะโดยแข่งขันแบบหันหลังหุ่นยนต์เข้าหากัน (back to back) อีก 1 ยก เพื่อหาผู้ชนะ
-
หุ่นยนต์จะต้องอยู่หลังเส้นเริ่มต้น (start) บนสนาม ก่อนเริ่มการแข่งขัน หุ่นยนต์ทั้งสองฝ่ายจะต้องหยุดนิ่งในจุดเริ่มต้นที่กำหนด จนกว่ากรรมการจะให้สัญญาณนกหวีดเริ่มการแข่งขัน
-
ในขณะที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ หากผู้ตัดสินเป่านกหวีดหยุดการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสั่งงานให้หุ่นยนต์หยุดเดินทันที
-
ฟาล์ว (Fouls) ในกรณีต่อไปนี้
-
ผู้เข้าแข่งขันสัมผัสหุ่นยนต์ขณะที่กำลังทำการแข่งขันอยู่
-
หุ่นยนต์หยุดนิ่งนานมากกว่า 5 วินาที
-
ฟาล์วมากกว่า 2 ครั้งในหนึ่งยก, ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ชนะ
สนามแข่งขัน
.png)
.png)
2. หุ่นยนต์กู้ภัยไฟป่า (Save the Forest)
วัตถุประสงค์
ทดสอบความสามารถของนักเรียนในการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ เพื่อช่วยเหลือและรักษาธรรมชาติที่เหลืออยู่ เพื่อช่วยผู้รอดชีวิต ทั้งยังเป็นการทดสอบการตัดสินใจของนักเรียนว่าจะให้ลำดับความสำคัญแก่อะไรเป็นสิ่งแรกระหว่างผู้ประสบภัยกับการดับไฟป่า
ขนาดหุ่นยนต์
หุ่นยนต์เมื่อเริ่มต้นต้องมีขนาดไม่เกิน 20 ซม. (กว้าง) x 20 ซม. (ยาว) x 20 ซม. (สูง)
ไม่อนุญาตให้หุ่นยนต์ยืดขยายขนาดใดๆ ขณะทำการเริ่มแข่งขัน
ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์
อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะชิ้นส่วนในชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ระดับ 4-6, ชุดหุ่นยนต์ MRT และชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาของ HUNA (ไม่รวมชุด My Robot Time Toy และหุ่นยนต์เตะฟุตบอลสำเร็จรูปของ MRT) มาสร้างหุ่นยนต์ ไม่จำกัดจำนวนบล็อกที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ และสามารถใช้ชิ้นส่วนจากชุดหุ่นยนต์ที่ต่างชุดกันจากรายการข้างต้นมาสร้างหุ่นยนต์ได้
ใช้มอเตอร์ได้ 4 ตัว, เซอร์โวมอเตอร์ 2 ตัว, เซนเซอร์อินฟราเรด 5 ตัว, บล็อกเซนเซอร์เดินตามเส้น
1 ตัว และกล่องควบคุม 1 กล่อง
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนามหรืออุปกรณ์ในสนาม
ไม่อนุญาตให้ใช้แบตเตอรี่แรงดันไฟเกิน 9 โวลต์ ดีซี ไม่อนุญาตให้ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับเนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย.
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อพื้นที่การแข่งขัน
กติกาการแข่งขัน
ระยะเวลาการแข่งขัน
แต่ละเกมจะใช้เวลาในการแข่งขันไม่เกิน 3 นาที ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะได้สิทธิในการแข่งขัน 2 ครั้ง โดยเลือกเอาครั้งที่ทำคะแนนได้ดีที่สุด
เกมจะจบลงก่อน 3 นาทีในกรณีต่อไปนี้
• เมื่อผู้เข้าแข่งขันถูกตัดสิทธิการแข่งขัน
• เมื่อกรรมการตัดสินพิจารณาแล้วว่าหุ่นยนต์ไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้
• หุ่นยนต์ทำให้สนามเกิดความเสียหาย
• ทำภารกิจได้สมบูรณ์
• หุ่นยนต์ทำให้อุปกรณ์ในภารกิจดับไฟป่า (ชุดเซนเซอร์อินฟราเรด และแอลอีดี) เกิดความเสียหาย
การสร้างหุ่นยนต์
สร้างและโปรแกรมสำเร็จมาล่วงหน้า
การแข่งขัน
หุ่นยนต์จะถูกวางอยู่หลังเส้นเริ่มสตาร์ต (ระยะห่างจากเส้นสตาร์ตถึงเซนเซอร์อินฟราเรด (IR) ไม่เกิน 5 ซม.) หันด้านหน้าหุ่นยนต์ไปทางทิศตะวันตกตามทิศในสนาม นาฬิกาจะเริ่มจับเวลาเมื่อ เซนเซอร์อินฟราเรด (IR) ข้ามเส้นสตาร์ตไปแล้ว
กรรมการจะให้สัญญาณเป่านกหวีดเริ่มการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอนุญาตให้เริ่มแข่งขันโดยกดสวิตช์เปิด (On) ให้หุ่นยนต์ทำงานเท่านั้น
การตัดสินภารกิจ
หุ่นยนต์จะต้องสามารถทำภารกิจด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ
หุ่นยนต์สามารถพาผู้รอดชีวิตกลับมายังศูนย์กู้ภัย
หุ่นยนต์เดินทางไปยังจุดที่ป่าที่ไฟไหม้ สัมผัสเซนเซอร์อินฟราเรด (IR) เพื่อดับไฟ (แอลอีดีจะเปลี่ยนจากสีแดงไปเป็นสีเขียว
ชิ้นส่วนตัวต่อต่างๆ ที่หลุดหรือหักจากหุ่นยนต์ ไม่สามารถทำการต่อคืนได้ขณะหุ่นยนต์ทำภารกิจ
หุ่นยนต์กลับมาหยุดที่จุดสตาร์ต
การตัดสินผู้ชนะ
ผู้ชนะคือผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่หุ่นยนต์สามารถทำภารกิจได้คะแนนสูงสุด
หากได้คะแนนเท่ากัน ผู้ที่หุ่นยนต์ทำภารกิจโดยใช้เวลาน้อยกว่าจะเป็นผู้ชนะ
คะแนน, การตัดคะแนน และการถูกตัดสิทธิ์
คะแนน
- ได้ 10 คะแนน สำหรับผู้รอดชีวิตแต่ละคน หากวางไว้อย่างถูกต้องในศูนย์กู้ภัย แต่ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้รอดชีวิตอยู่นอกกรอบศูนย์กู้ภัย ให้ถือว่ากู้ภัยไม่สำเร็จ ไม่ได้คะแนน
- ได้ 10 คะแนน สำหรับการดับไฟในแต่ละจุด (ทำให้เซนเซอร์อินฟราเรด (IR) ทำงาน แอลอีดีเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว)
- หากแอลอีดีไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว จะไม่ได้คะแนน
- ได้ 20 คะแนน เมื่อหุ่นยนต์กลับมาหยุดที่จุดเริ่มต้น
การตัดคะแนน
วางผู้ประสบภัยบนจุดใดๆ ในป่า จะถูกตัด 15 คะแนน
การตัดสิทธิ์การแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันสัมผัสหุ่นยนต์ หรืออุกรณ์ในสนาม ขณะกำลังทำการแข่งขัน
- หุ่นยนต์ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดด้านขนาด
- หุ่นยนต์ติดหรือหยุดนิ่งนานเกินกว่า 10 วินาที
- หุ่นยนต์เดินอกกนอกเส้นทางนานเกินกว่า 10 วินาที
สนามแข่งขัน

3. หุ่นยนต์วอลเลย์บอล รุ่นซีเนียร์ (R–Sports Mission – Volleyball Senior)
วัตถุประสงค์
เป็นการออกแบบหุ่นยนต์เพื่อให้มาทำงานประสานกันเป็นทีม ทำภารกิจย้ายลูกปิงปองจากหอคอยของทีมตนเองไปยังสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการเคลื่อนที่ เทคนิคการควบคุมเซนเซอร์ และการเขียนโปรแกรมควบคุม เป็นเกมที่ทดสอบความสามารถของนักเรียนในการสร้างหุ่นยนต์ที่มีเสถียรภาพ และทักษะในการควบคุม เพื่อให้หุ่นยนต์โยนลูกปิงปองส่งไปยังฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด
ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์เมื่อเริ่มต้นต้องมีขนาดไม่เกิน 25 ซม. (กว้าง) x 25 ซม. (ยาว) x 25 ซม. (สูง)
อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์จะต้องไม่ยืดขยายขนาดใดๆ หลังจากการเริ่มแข่งขัน
ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์
-
อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะชิ้นส่วนในชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ระดับ 4-6, ชุดหุ่นยนต์ MRT และชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาของ HUNA (ไม่รวมชุด My Robot Time Toy และหุ่นยนต์เตะฟุตบอลสำเร็จรูปของ MRT) มาสร้างหุ่นยนต์ ไม่จำกัดจำนวนบล็อกที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ และสามารถใช้ชิ้นส่วนจากชุดหุ่นยนต์ที่ต่างชุดกันจากรายการข้างต้นมาสร้างหุ่นยนต์ได้
-
อนุญาตให้ใช้มอเตอร์ได้ 2 ตัว, เซอร์โวมอเตอร์ 2 ตัว และกล่องควบคุม (mainboard) 1 กล่อง
-
ไม่อนุญาตให้ดัดแปลงส่วนที่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หากตรวจเจอจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขันทันที
-
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนามหรืออุปกรณ์ในสนาม
-
ไม่อนุญาตให้ใช้แบตเตอรี่แรงดันไฟเกิน 9 โวลต์ ดีซี ไม่อนุญาตให้ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
-
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อพื้นที่การแข่งขันหรืออุปกรณ์รอบข้างใดๆ
-
หุ่นยนต์จะต้องมีการป้องกันเซนเซอร์ตนเองจากการรบกวนภายนอก
-
ตัวรับรีโมตคอนโทรล (RC) จะต้องได้รับการป้องกันการรบกวนจากภายนอก
กติกาการแข่งขัน
ระยะเวลาการแข่งขัน
กำหนดเวลาแข่งขันเกมละ 3 นาที
การสร้างหุ่นยนต์
-
หุ่นยนต์สร้างสำเร็จ และเขียนโปรแกรมมาล่วงหน้า
การเริ่มหุ่นยนต์
-
กรรมการจะเป่านกหวีดเป็นสัญญาณเริ่มต้นการแข่งขัน
-
หุ่นยนต์ทั้งหมดจะถูกวางอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของสนาม ก่อนกรรมการให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน
ภารกิจการแข่งขัน
-
การแข่งขันจะดำเนินการในแบบแพ้คัดออก (Knock Out) การจับคู่การแข่งขันของทีมทั้งหมดจะใช้วิธีสุ่มโดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
-
แต่ละทีมจะประกอบด้วยหุ่นยนต์ 2 ตัว และผู้เข้าแข่งขัน 2 คน ควบคุมหุ่นยนต์ของตนเองคนละตัว
-
แต่ละทีมจะมีลูกปิงปอง 20 ลูกในสนามฝั่งตัวเอง วางอยู่บนหอคอยที่มีความสูงต่างกัน 2 ระดับ
-
แต่ละทีมสามารถปรับใช้กลวิธี หรือกลยุทธ์ ในการตัก หยิบ หรือรวบรวมลูกปิงปองจากหอคอยตนเอง เพื่อส่งไปยังสนามของฝ่ายตรงข้าม
-
ถ้าลูกปิงปองถูกโยนออกนอกขอบเขตสนาม กรรมการจะนำลูกปิงปองกลับมาวางยังหอคอยระดับต่ำทันที.
-
ในกรณีที่การแข่งขันได้ผลเสมอ จะไม่มีการต่อเวลา
-
ทุกทีมจะแช่งขันในระบบ แพ้คัดออก (knock-out) ผู้ชนะในแต่ละเกมจะได้เข้ารอบต่อไป
-
หุ่นยนต์ที่ออกนอกสนามแข่ง จะกลับลงสนามได้อีกครั้งต่อเมื่อกรรมการอนุญาต
-
ในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิค เช่น ไม่สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ กรรมการจะหยุดการแข่งชั่วคราว และช่วยผู้แข่งขันที่ประสบปัญหาเพียงการปิดและเปิดหุ่นยนต์ใหม่เท่านั้น ถ้าหุ่นยนต์ยังคงทำงานไม่ได้ ผู้แข่งขันนั้นจะถูกตัดออกจาการแข่ง
-
ผู้แข่งขันไม่สามารถซ่อมหรือประกอบชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ที่หลุดหรือแตกหักได้ในระหว่างการแข่งขัน
-
ขณะที่การแข่งขันดำเนินอยู่ เมื่อใดที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องควบคุมให้หุ่นยนต์หยุด
การตัดสินผู้ชนะ
ภายในเวลา 3 นาที ทีมที่สามารถย้ายบอลไปยังสนามของฝ่ายตรงข้ามได้มากที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะ
ถ้าทีมหนึ่งสามารถย้ายลูกปิงปองของตัวเองทุกลูกไปยังฝั่งของคู่แข่งได้ ก่อนเวลา 3 นาที ทีมคู่แข่งจะถูกพิจารณาเป็น “SUDDEN DEATH” และต้องแพ้ในการแข่งขันเกมนี้ทันทีmmer Games)
ในกรณีที่มีผลเสมอเมื่อหมดเวลา จะต้องแข่งรอบ PK (game filed in original state) โดยเลือกหุ่นยนต์ 1 ตัวของแต่ละทีม มาแข่งย้ายลูกปิงปองไปยังฝั่งของคู่แข่งภายในเวลา 30 วินาที
การถูกตัดสิทธิ์
ทีมจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน หากกระทำการใดๆ ต่อไปนี้ระหว่างการแข่งขัน :
สัมผัสหุ่นยนต์ในระหว่างการแข่งขัน
หุ่นยนต์ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดด้านขนาด
สนามแข่งขัน
.png)
4. ความคิดสร้างสรรค์ รุ่นซีเนียร์ (Creative Design Senior)
วัตถุประสงค์
เป็นเวทีสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่จะได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ในนวัตกรรมด้านหุ่นยนต์และทักษะการเขียนโปรแกรม โดยผู้เข้าแข่งขันที่จะต้องร่วมกันทำงานเป็นทีม เพื่อการออกแบบหุ่นยนต์ในหัวข้อที่กำหนด นอกจากนี้ ยังจะต้องนำเสนอและแสดงให้เห็นถึงผลงานการสร้างหุ่นยนต์ เพื่อโน้มน้าว และสร้างความประทับใจให้แก่คณะกรรมการตัดสินอีกด้วย
ขนาดและน้ำหนักหุ่นยนต์
-
ไม่จำกัด ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์
ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์
-
อนุญาตให้ใช้ชิ้นส่วนในชุดหุ่นยนต์ไอคิดส์ และชุดหุ่นยนต์ MRT ทุกระดับมาสร้างหุ่นยนต์ได้ โดยไม่จำกัดจำนวนของตัวต่อที่ใช้ และสามารถใช้ชิ้นส่วนหุ่นยนต์ต่างชุดกันมาต่อรวมกันสร้างหุ่นยนต์ได้
-
หุ่นยนต์ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนาม โดยเจตนา
-
หุ่นยนต์สามารถที่จะทำงานในแบบอัตโนมัติ หรือใช้รีโมตคอนโทรลควบคุม
-
หุ่นยนต์สามารถใช้อุปกรณ์ หรือวัสดุอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาได้ เช่น กล้อง, เซนเซอร์ต่างๆ , กระดาษ, แหวน, คลิป, ตะเกียบ, ถ้วยกระดาษ และวัสดุที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3D เป็นต้น.
-
ไม่อนุญาตให้ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัย
-
หุ่นยนต์จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อสนาม และอุปกรณ์แวดล้อมใดๆ
-
หุ่นยนต์จะต้องมีการป้องกันเซนเซอร์ของตนเอง (ถ้ามี) จากการรบกวนภายนอก
-
ตัวรับรีโมตคอนโทรลของหุ่นยนต์ (ถ้ามี) จะต้องได้รับการป้องกันการรบกวนจากภายนอก
กติกาการแข่งขัน
ระยะเวลาการแข่งขัน
-
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างหุ่นยนต์มาล่วงหน้า
-
ผู้เข้าแข่งขันจะมีเวลา 2 ชั่วโมง ในการเตรียมหุ่นยนต์ของตนเอง
-
แต่ละทีมมีเวลาในการนำเสนอ 3 นาที บนเวที ให้คณะกรรมการตัดสิน
หัวข้อโจทย์ (Theme): เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ, UN’s Sustainable Development Goals -- SDGs)
* ดูรายละเอียด เป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ได้ตามลิงก์ต่อไปนี้ https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/
ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 17 หัวข้อย่อย ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกออกแบบสร้างหุ่นยนต์ให้อยู่ใน 5 หัวย่อย ต่อไปนี้ :
1. โลกไร้ซึ่งผู้หิวโหย (Zero Hunger) ยุติความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหาร การปรับปรุงด้านการโภชนาการและส่งสริมการเกษตรแบบยั่งยืน
2. สุขภาพและความเป็นอยู่อันพึงปรารถนา (Good Health and Well-Being) ทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีพและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุ
3. น้ำสะอาดและการสุขาภิบาลที่ยอดเยี่ยม (Clean Water and Sanitation) ทำให้มั่นใจว่าจะมีให้มีการจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน
4. พลังงานที่ไม่มีวันหมดในราคาที่ซื้อได้ (Affordable and Clean Energy) ทำให้มั่นใจว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงพลังงานที่มีราคาที่ซื้อได้ มั่นใจได้ ยั่งยืนและทันสมัย
5. บ้านเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน
เอกสารหรือคู่มือหุ่นยนต์ (Robot Manual)
-
ผู้เข้าเข้าแข่งขันควรส่งคู่มือหุ่นยนต์ (ในขนาด A4) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น โปสเตอร์ภาพถ่าย ส่งให้ผู้จัดงานก่อนการนำเสนอ
-
คู่มือเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
-
ในคู่มือควรประกอบด้วย
-
ชื่อหุ่นยนต์ (Robot Name)
-
สมาชิกในทีมและการจัดสรรงาน (Team member and the task allocation)
-
การแนะนำโครงงานเบื้องตัน (Introduction of the project)
-
คุณลักษณะของหุ่นยนต์ (Characteristic of robot)
-
การทำงานของหุ่นยนต์ (Functionality of robot)
เกณฑ์พิจารณาตัดสินผู้ชนะ
มีเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนนดังนี้ :
-
ความเกี่ยวข้องกับหัวข้อโจทย์ (Relevance to theme)
-
ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
-
ความมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น (Uniqueness)
-
การทำงานของหุ่นยนต์ (Robot Functionality)
-
เอกสารหรือคู่มือหุ่นยนต์ (Robot manual)
-
การทำงานเป็นทีม (Team work)
-
การนำเสนอ (Presentation skill)